Tiger 1

ยานรบหุ้มเกราะที่ 6 "ทีเกอร์" (เยอรมันPanzerkampfwagen VI „Tiger“) หรือเรียกว่า ทีเกอร์ 1 เป็นยานเกราะขนาดหนักที่ถูกใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยถูกสร้างในช่วงปลายปี ค.ศ. 1942 เพื่อที่จะใช้ตอบโต้ความแข็งแกร่งยานเกราะที-34 และรถถังคลีเมนต์ โวโรชีลอฟ ของ สหภาพโซเวียต ในช่วงเริ่มต้นของ ปฏิบัติการบาร์บารอสซาลักษณะการออกแบบของทีเกอร์1 ทำให้ทีเกอร์1 เป็นยานเกราะของเวร์มัคท์ คันแรกที่ติดปากกระบอกปืนขนาด 88 มิลลิเมตร โดยปากกระบอกปืนนี้ได้ถูกทดสอบมาก่อนว่ามีประสิทธิภาพสูงในการยิงต่อต้าน รถถัง และ เครื่องบิน ในช่วงระหว่างสงคราม ทีเกอร์ 1 ได้ถูกนำไปใช้ในในการรบแนวหน้าของเยอรมัน โดยปกติแล้วทีเกอร์1 ถูกนำมาแยกเป็นหน่วยยานเกราะอิสระ ซึ่งทำให้หน่วยทีเกอร์1 สามารถปฏิบัติการได้อย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพ
แม้ว่าทีเกอร์1 เป็นที่น่าเกรงขามต่อศัตรูเป็นอย่างมากก็ตาม ทว่า ในขณะเดียวกัน ทีเกอร์1 เป็นยานเกราะที่มีลักษณะซับซ้อนในการสร้าง ต้นทุนสูง และใช้เวลาในการผลิตยาวนานอีกทั้งทีเกอร์1 มักจะประสบปัญหาเครื่องจักรกลล่มบ่อยครั้งจึงทำให้ยานเกราะชนิดนี้ถูกยกเลิกการผลิตไป มีเพียงจำนวน 1347 คันเท่านั้นที่ถูกผลิตขึ้นมา ในช่วงระยะเวลา สิงหาคม ค.ศ. 1942 ถึง สิงหาคม ค.ศ. 1944 และทีเกอร์1I ได้ถูกผลิตขึ้นมาแทนที่
ยานเกราะนี้ถูกตั้งชื่อเล่นโดย Ferdinand Porche และตัวเลขโรมันได้ถูกเพิ่มเติมหลังจากที่ยานเกราะทีเกอร์ 2 ได้ถูกนำมาผลิต โดยแท้จริงแล้ว ยานเกราะชนิดนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการ คือ Panzerkampfwagen VI Ausführung H (ยานเกราะ Panzer VI รุ่น H หรือมีชื่อย่อว่า PzKpfw VI Ausf. H) แต่อย่างไรก็ตาม ยานเกราะนี้ได้ถูกนำมาออกแบบใหม่อีกครั้งเป็น PzKpfw VI Ausf. E ในเดือน มีนาคม 1943 และมีลักษณะการออกแบบปืนใหญ่ของ SdKfz 181 เช่นเดียวกัน.
ในปัจจุบันนี้ มีทีเกอร์1 ไม่กี่คันเท่านั้นที่ยังคงเหลืออยู่ให้โดยถูกนำมาแสดงในพิพิธภัณฑ์และงานแสดงทั่วโลก ตัวอย่างของยานเกราะที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด คือ พิพิธภัณฑ์ยานเกราะ Bovington ทีเกอร์ 131 ซึ่งเป็นยานเกราะคันเดียวที่ยังคงสามารถใช้ได้อยู่ในปัจจุบันนี้
อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C_1

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้